คนรักดวงตา อย่าเลื่อนผ่าน!! #ลูทีนและซีแซนทีน สุดยอดสารอาหารเพื่อดวงตา ที่หลายคนรู้จัก

enel ared สำหรับคนรักดวงตา
รู้จัก ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)

รู้จัก ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)

ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารมีสี หรือ รงควัตถุ ที่ได้จากธรรมชาติ จัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ชนิดหนึ่ง ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างสาร 2 ชนิดนี้ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบแคโรทีนอยด์มากกว่า 1,100 ชนิด แต่มีเพียงลูทีนและ ซีแซนทีนเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ที่พบในจุดรับภาพของจอประสาทตา

ความสำคัญ ของลูทีนและซีแซนทีน

ความสำคัญ ของลูทีนและซีแซนทีน

  1. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระให้กับดวงตาที่เซลล์รับแสง ป้องกันเซลล์รับแสง (photoreceptor cells)
  2. กรองแสงสีฟ้า (Blue light) เป็นคลื่นแสงพลังงานสูง ที่ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็ต

โดยสรุป คือ ลูทีนและซีแซนทีน ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ของจอประสาทตา ช่วยกรองแสงลดความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อมและความเสื่อมของดวงตา

แหล่งที่พบ ลูทีนและซีแซนทีนจากธรรมชาติ

แหล่งที่พบ

ลูทีนและซีแซนทีนจากธรรมชาติ เช่น ดอกดาวเรือง บร็อคโคลี่ ผักปวยเล้ง ฟักทอง โกจิเบอร์รี่(เก๋ากี้) คะน้า กีวี่ เป็นต้น

รับประทานปริมาณเท่าไหร่

ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคเท่าไหร่?

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน ที่ควรบริโภคทุกวันเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี หรือ Dietary Recommended Intake (DRI) ยังไม่มีการกำหนดที่ชัดเจน ขนาดปกติเริ่มต้นที่ ลูทีน 10 มก./วัน และซีแซนทีน 2 มก./วัน

ขนาดสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ : Tolerable Upper Intake Level (UL) ไม่มีกำหนดไว้ หากบริโภคมากเกินไป ซึ่งมีรายงานวิจัยลูทีนในขนาดมากกว่า 20 มก./วัน อาจทำให้ผิวออกสีเหลืองได้

ทั้งนี้ปริมาณของ RDI นั้นเป็นขั้นพื้นฐานของการรักษาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพดวงตาอยู่ หรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพดวงตา (ใช้สายตาหน้าจอคอมฯ, ใช้มือถือ, ต้องเจอเผชิญแสงแดด, ขาดการบริโภคผัก ไม้ ที่มีลูทีน ซีแซนทีน) ควรได้รับลูทีนและซีแซนทีนตั้งแต่ 10 mg – 20 mg /วัน

จากงานวิจัยการศึกษาทางคลินิก Age-related eye disease study 2 (AREDS 2) พบว่า ควรรับประทานลูทีนร่วมกับซีแซนทีน โดยมีปริมาณลูทีน 10 มก.ซีแซนทีน 2 มก. /วัน และหากมี วิตามินซี วิตามินอี แร่ธาตุซิงค์ และ แร่ธาตุคอปเปอร์ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพ ชะลอการลุกลามของโรคจอประสาทตาเสื่อม ลดการสูญเสียการมองเห็นจากโรคดังกล่าว

จอประสาทตาเสื่อม คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมบริเวณส่วนกลางของจอประสาทตา อาการมักจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างช้าๆ

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม จะมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้

  • มองเห็นไม่ค่อยชัด
  • ภาพที่เห็นบิดเบี้ยว
  • เห็นสีผิดเพี้ยน
  • มีจุดดำกลางภาพ
  • มองในที่สว่างไม่ชัด/แพ้แสง

หมายเหตุ :

** Age-Related Eye Disease Study 2 (AREDS 2) เป็นการศึกษาทางคลินิกที่ใหญ่ที่สุด ดำเนินการโดย National Eye Institute (NEI) เพื่อศึกษาความเสื่อมของจอประสาทตา (AMD) และต้อกระจกที่เกี่ยวข้องกับอายุ มีผู้เข้าร่วมทดลองจำนวนมากถึง 4 พันคน

การศึกษายังมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติธรรมชาติและปัจจัยเสี่ยงของ AMD และต้อกระจก ผลการศึกษายืนยันประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการชะลอการลุกลามของโรค AMD

ความจริงที่เลี่ยงไม่ได้

ความจริงที่เลี่ยงไม่ได้

  1. อายุมากขึ้น ลูทีนและซีแซนทีนในจอประสาทตาลดลง
  2. ร่างกายไม่สามารถสร้างลูทีนและซีแซนทีนเองได้
  3. สารอาหารในผัก ผลไม้ลดลง เมื่อเทียบกับ 70 ปีที่แล้ว ทำให้การรับประทานอาหารในปัจจุบันทำให้ได้รับลูทีนและซีแซนทีนน้อยลง (( อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.enelthailand.com/2022/08/18/nutrients-for-eye-health/))
  4. การรับประทานอาหารปกติ ได้รับลูทีนและซีแซนทีน ไม่เพียงพอ ยกตัวอย่าง ร่างกายต้องการลูทีน 10 มิลลิกรัม ต้องรับประทานหน่อไม้ฝรั่ง 1.1 กิโลกรัม หรือ บร็อกโคลี 1.4 กิโลกรัม ซีแซนทีน 2 มิลลิกรัม ต้องรับประทาน น้ำส้ม 10 ลิตร หรือองุ่นเขียว 33 กิโลกรัม

เขียนและเรียบเรียงโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!